
รับตรวจเช็คระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm
เดอะเพาเวอร์ เจเนอเรชั่น
ตรวจเช็คระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm การตรวจเช็คระบบ Fire Alarm เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานในกรณีเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้จริง การตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ระบบแจ้งเตือนภัยมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น วิธีการทดสอบอุปกรณ์ และบริภัณฑ์ในระบบ 1. การทดสอบแผงควบคุมระบบแผงแสดงผลเพลิงไหม้ และ แผงโมดูล 1.1พิสูจน์การตอบรับการเริ่ม สัญญาณตรวจจับ สัญญาณตรวจคุมและสัญญาณ ขัดข้อง พร้อมหรือไม่ 1.2แผงควบคุมที่ตอบรับการทดสอบโดยดวงไฟ แสดงผลที่เกี่ยวข้องติดและเสียงสัญญาณ เตือนในแผงดังขึ้น เมื่อเกิดการเริ่มสัญญาณ ภานใน เวลาที่กำหนด เวลาไม่เกิน 10 วินาที ทดสอบโดยทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณจากโซนตรวจจับ เวลาไม่เกิน 30 วินาที ทดสอบโดยทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณจากโซนตรวจจับที่มีการพิสูจน์ สัญญาณตรวจจับ 1.3แผงควบคุมที่ตอบรับการทดสอบโดย ดวงไฟ แสดงผลที่เกี่ยวข้องติด และเสียงสัญญาณเตือนที่แผงดังขึ้นเมื่อเกิดการขัดข้อง ภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาที 1.4 ทดสอบโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง ปลดอุปกรณ์ออกจากสายโซนตรวจจับ หรือสายโซนแจ้งสัญญาณ 1.5ทดสอบโดยการตัดโซนตรวจจับออกจากวงจรด้วยสวิตซ์ตัดตอน 1.6ทดสอบโดยปิดแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าหลัก (AC 220V) 1.7ทดสอบโดยการปลดขั้วแบตเตอรี่จ่ายไฟสำรอง 1.8แผงโมดูลมอนิเตอร์ ที่แสดงการตอบรับการทดสอบ การเริ่มสัญญาณตรวจจับโดยดวงไฟ ติดค้างที่โมดูล 1.9แผงโมดูลควบคุมที่แสดงการตอบรับ การทดสอบแจ้งสัญญาณ โดยดวงไฟติดค้างที่โมดูล 1.10แผงแสดงผลเพลิงไหม้ ที่แสดงการตอบรับการทดสอบ การเริ่มสัญญาณตรวจจับและเสียงสัญญาณเตือนในแผงดังขึ้นจึงถือว่าผ่าน 2. การทดสอบดวงไฟแสดงผลและเสียง สัญญาณเตือนที่แผงควบคุมระบบ และแผงแสดงผลเพลิงไหม้ เมื่อกดสวิตซ์ทดสอบหรือสั่งงานด้วยโปรแกรมควบคุม 2.1ดวงไฟทุกดวงที่แผงควบคุมติด สว่างขึ้น 2.2ดวงไฟทุกดวงที่แผง แสดงผลเพลิงไหม้ติด และเสียงสัญญาณเตือนในแผงดังขึ้น 3. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ หรือบริภัณฑ์ ต่อร่วม (Interface Equipment) การสื่อสารในเครือข่าย 3.1ทดสอบโดยทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณที่แผงควบคุม 3.2อุปกรณ์หรือบริภัณฑ์ ที่ต่อร่วม การสื่อสาร มีการรองรับข้อมูล 4. ทดสอบชุด PC Computer Graphic 4.1ทดสอบโดยทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณ ที่แผงควบคุม 4.2ตรวจสอบการแสดงผลที่ชุด PC Graphic 4.3ตรวจสอบฟังก์ชั่น software 5. วิธีการทดสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้า สำหรับระบบ 5.1ปลดขั้วแบตเตอรี่จ่ายไฟฟ้าสำรองออกก่อนการทำการทดสอบ และต่อกลับเมื่อทำการทดสอบแล้วเสร็จ 5.2ทดสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้า หลักโดยทำให้ระบบเกิดการแจ้งสัญญาณ ทั่วไปขึ้น 5.3ทดสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าเสริม (Auxiliary Powcr Supply) แยกต่างหาก 5.4แบตเตอรี่ที่ทดสอบโดยวัดค่าแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้วและให้อยู่ในเกณฑ์ผู้ผลิต 5.5ต้องดูสถานะภายนอก ขั้วจุดต่อต่างๆ 6. การทดสอบอุปกรณ์ ตรวจจับควันชนิดจุด (Smoke Detector) 6.1ทดสอบโดยทำให้เกิดควัน หรือ ใช้พ่นแก๊สเสมือนควันให้เข้าไปยังช่องรับควันที่ตัวอุปกรณ์ 6.2อุปกรณ์ตรวจจับควัน ต้องทำงานเริ่มสัญญาณการตรวจจับควันตามการทดสอบได้ ภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาที จึงถือว่าผ่านการทดสอบ 7. การทดสอบอุปกรณ์ ตรวจจับควันชนิดลำแสง (Smoke Beam Detector) 7.1ทดสอบโดยทำให้เกิดควัน หรือ ใช้แผ่นกรองแสง ที่ผู้ผลิตมีไว้ให้ขวางลำแสงระหว่างจุดกำเนิดแสง และจุดรับแสงของอุปกรณ์ 7.2อุปกรณ์ตรวจจับควัน ต้องทำงานเริ่มสัญญาณการตรวจจับควันได้ภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาที จึงถือว่าผ่านการทดสอบ 8. การทดสอบอุปกรณ์จับความร้อนแบบผสมอุณหภูมิคงที่ กับอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ (combination rate of rise and Fixed Temp) และแบบอัตราการชดเชยอุณหภูมิ (rate of rise combination) ชนิดจุด ที่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ 8.1ทดสอบโดยการทำให้เกิดความร้อนในอากาศ บริเวณใกล้กับส่วนตรวจจับของอุปกรณ์ ตรวจจับความร้อน ด้วยอุปกรณ์ให้ความร้อนและวิธีการให้ความร้อนกับอุปกรณ์ ตรวจจับ 8.2อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ต้องทำงานเริ่มสัญญาณการตรวจจับความร้อนภายในเวลาไม่เกิน 1 นาที จึงถือว่าผ่านการทดสอบ 9. การทดสอบอุปกรณ์ ตรวจจับความร้อน แบบอุณหภูมิคงที่ ชนิดจุดที่ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ ต้องทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ตามข้อกำหนดในห้องปฎิบัติการหลังการติดตั้ง 9.1ใช้งานมาแล้ว 15 ปี หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ตรวจจับใหม่ทั้งหมด 9.2ทดสอบโดยการสุ่มตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจจับร้อยละ 2 จากจำนวนที่ใช้ติดตั้งทั้งหมด 9.3ต้องสุ่มตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจจับ จำนวนร้อยละ 2 จากจำนวนที่ใช้ติดตั้งทั้งหมดมาทำการทดสอบใหม่ หากมีอุปกรณ์ ตรวจจับจำนวน 1 ชุดไม่ผ่านการทดสอบ 9.4ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนใหม่ทดแทน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ในจำนวนที่ถอดออกไป ทำการทดสอบ 10. การทดสอบอุปกรณ์ ตรวจจับเปลวไฟ 10.1ทดสอบโดยทำให้เกิดประกายไฟเปลวไฟ หรือใช้อุปกรณ์ กำเนิดแสงในพื้นที่อยู่ในมุมมองของอุปกรณ์ ตรวจจับ 10.2อุปกรณ์ตรวจจับต้องทำงานเริ่มสัญญาณ การตรวจจับ ภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาที จึงถือว่าผ่านการทดสอบ 11. การทดสอบอุปกรณ์ การแจ้งเหตุด้วยมือ 11.1ต้องทดสอบการทำงานตามชนิดของอุปกรณ์ 12. การทดสอบสวิตซ์ควบคุมประตูน้ำ (SS,FS) 12.1ทดสอบโดยหมุนเปิดประตูน้ำ ไม่เกิน 2 รอบหรือทำให้ประตูน้ำเลื่อนเปิด 1 ใน 5 ของระยะเปิดทั้งหมด 13. การทดสอบอุปกรณ์เสียงแจ้งสัญญาณ 13.1ทดสอบโดยการทำให้เกิดการแจ้งสัญญาณ 13.2วัดค่าระดับความดังของเสียง สูงจากระดับพื้น 1.50 m 13.3ในพื้นที่สาธารณะ ค่าความดังของเสียง สัญญาณที่วัดได้ต้องมากกว่าค่าความดังของเสียงสิ่งแวดล้อมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15 dBA 14. การทดสอบอุปกรณ์ แสง แจ้งสัญญาน 14.1ทดสอบโดยการทำให้เกิดการแจ้งสัญญาณ 14.2ดวงไฟแจ้งสัญญาณจะต้องติดกระพริบสว่าง สามารถเห็นได้ชัดเจนโดยง่าย The Power Generation เดอะเพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ออกแบบ ติดตั้ง ตรวจเช็ค ระบบ Fire alarm โทร.06-4356-1711 หรือ Line: @tpgfirealarm